f
 
ข่าวสารทางหลวง
title
การขออนุญาตทำทางเชื่อมเข้า-ออกทางหลวง

การขออนุญาตทำทางเชื่อมเข้า-ออกทางหลวง ในปัจจุบันกรมทางหลวงดูแลทางหลวงอยู่ 3 ประเภท คือ1. ทางหลวงพิเศษ2. ทางหลวงแผ่นดิน3. ทางหลวงสัมปทานผู้ที่มีความประสงค์จะขอก่อสร้างทางเชื่อมเข้าออกทางหลวงพิเศษและทางหลวงแผ่นดิน หรือปลูกสร้างอาคารริมเขตทางหลวง จะต้องขออนุญาตต่อกรมทางหลวง ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดไว้ขั้นตอนการให้บริการ1. ยื่นคำขอ2. เจ้าหน้าที่รับเรื่องแยกตามประเภท    - การการขออนุญาตทำทางเชื่อมตามแบบมาตรฐานเข้าออกบ้านพักอาศัยที่ดินว่างเปล่า (มาตรา 37, 55) (นายช่างแขวงการทางได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พิจารณาอนุญาต)    - การขออนุญาตทำทางเชื่อมตามแบบมาตรฐานเข้าอาคารพาณิชย์สถานีบริการน้ำมัน โรงงาน หมู่บ้านจัดสรร ฯลฯ (มาตรา37, 55)(ผู้อำนวยการสำนักทางหลวง ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พิจารณาอนุญาต)    - การการขออนุญาตทำ ทางเชื่อมตามแบบมาตรฐานเข้าอาคารพาณิชย์สถานีบริการน้ำมัน โรงงาน หมู่บ้านจัดสรร ฯลฯ (มาตรา37,55)(ผู้อำนวยการสำนักทางหลวง ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พิจารณาอนุญาต)3. การรับเรื่องหลักฐานที่ใช้1. แบบฟอร์มคำขออนุญาตของกรมทางหลวง ซึ่งกรมทางหลวงจัดไว้ให้ฟรีหรือ Download ได้จากตัวอย่าง    - คำขออนุญาตสำหรับเอกชน (แบบเลขที่ 37/1)    - คำขออนุญาตสำหรับหน่วยราชการ (แบบเลขที่ 37/2)2.แบบแปลนก่อสร้างทางเชื่อมกับทางหลวง กรมทางหลวงมีร่างต้นแบบไว้ให้ฟรีหรือ Download ได้จากตัวอย่าง สำหรับรูปแบบมาตรฐาน ซึ่งมีอยู่ 3 ลักษณะด้วยกัน คือ    - ทางเชื่อมเพื่อเข้า – ออก บ้านพักอาศัย (แบบเลขที่ 37/1(1) -37/1(2))    - ทางเชื่อมเพื่อเข้า – ออก อาคารพาณิชย์ (แบบเลขที่ 37/2(1) -37/2(2))    - ทางเชื่อมเพื่อเข้า – ออก สถานีบริการน้ำมัน (แบบเลขที่ 37/3(1) -37/3(5))(แบบมาตรฐานทางเข้า – ออก ขนาดเท่ากับกระดาษ A3)3. ภาพถ่ายสำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต ภาพถ่ายสำเนาโฉนดที่ดิน ซึ่งประสงค์จะทำทางเชื่อมเข้าออกทางหลวง กรณีที่ที่ดินติดจำนองจะต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้รับจำนอง4.กรณีทางเชื่อมที่ขออนุญาตมีรัศมีเลี้ยวปากทางเข้าออกล้ำหน้าที่ดินผู้อื่น อาจจะต้องให้เจ้าของที่ดินแสดง ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย5. กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการขออนุญาตแทน เจ้าของที่ดินจะต้องทำหนังสือมอบอำนาจด้วย พร้อมสำเนา บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ6.กรณีเป็นนิติบุคคลจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่ลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจพร้อมตราประทับของ นิติบุคคลนั้นๆ และต้องมีหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลนั้นด้วย ท่านจะต้องเตรียมแบบฟอร์มคำขออนุญาต เอกสารและแบบแปลน ต้องใช้ทั้งหมด 4 ชุด สำหรับหนังสือมอบอำนาจfฉบับแรกให้ติดอากรราคา 10 บาท แบบฟอร์มแบบคำขออนุญาตสร้างทาง ถนน หรือสิ่งอำนวยในเขตทางหลวง เพื่อเป็นทางเข้าออกทางหลวง(คำขออนุญาตสำหรับเอกชน)แบบคำขออนุญาตสร้างทาง ถนน หรือสิ่งอำนวยในเขตทางหลวง เพื่อเป็นทางเข้าออกทางหลวง(คำขออนุญาตสำหรับหน่วยราชการ)แบบมาตรฐานลักษณะทางเข้า-ออกทางหลวง(2ช่องจราจรขึ้นไป)แบบมาตรฐานลักษณะทางเข้า-ออกทางหลวง(กองวิศวกรรมจราจร)แบบมาตรฐานลักษณะทางเข้า-ออกทางหลวง(กองวิศวกรรมจราจร)ระยะเวลาให้บริการ1. การการขออนุญาตทำทางเชื่อมตามแบบมาตรฐานเข้าออกบ้านพักอาศัยที่ดินว่างเปล่า   1.1.ช่วงยื่นคำขอ 1 ขั้นตอน 1 จุดบริการ รวมระยะเวลา 15 นาที   1.2 ช่วงดำเนินการจนแล้วเสร็จ (รวมระยะเวลายื่นคำขอ) 5 ขั้นตอน 1 จุดบริการ รวมระยะเวลา 12 วัน 15 นาที2.  การขออนุญาตทำทางเชื่อมตามแบบมาตรฐานเข้าอาคารพาณิชย์สถานีบริการน้ำมัน โรงงาน หมู่บ้านจัดสรร ฯลฯ     2.1  ช่วงยื่นคำขอ  1 ขั้นตอน 1 จุดบริการ รวมระยะเวลา 15 นาที   2.2 ช่วงดำเนินการจนแล้วเสร็จ (รวมระยะเวลายื่นคำขอ) 7 ขั้นตอน 1 จุดบริการ รวมระยะเวลา 27 วัน 15 นาที3. การการขออนุญาตทำ ทางเชื่อมตามแบบมาตรฐานเข้าอาคารพาณิชย์สถานีบริการน้ำมัน โรงงาน หมู่บ้านจัดสรร ฯลฯ    3.1 ช่วงยื่นคำขอ 1 ขั้นตอน 1 จุดบริการ รวมระยะเวลา 15 นาที   3.2 ช่วงดำเนินการจนแล้วเสร็จ (รวมระยะเวลายื่นคำขอ) 9 ขั้นตอน 1 จุดบริการ รวมระยะเวลา 45 วัน 15 นาที
title
โครงการการมีส่วนร่วมของประชาชน

     ถนนทางหลวงหมายเลข 221 สาย ศรีสะเกษ – อ.กันทรลักษ์ – เชิงบันไดเขาพระวิหาร เริ่มต้นจาก กม.0+462 และสิ้นสุดที่ เชิงบันไดเขาพระวิหาร  กม.98+452 รวมความยาวประมาณ 98 กิโลเมตร      โครงการปรับปรุงการแบ่งทิศทางการจราจรเพื่อความปลอดภัยทางหลวงหมายเลข 221 ตอนควบคุม 0101 ตอน ศรีสะเกษ – ภูเงิน ตอน 3 ระหว่าง กม.37+200 – กม.38+450 ระยะทางยาว 1.250 กิโลเมตร. (ช่วงจากบริเวณทางเข้า รพ.ศรีรัตนะ ถึงปั๊มน้ำมันต้นตระการณ์)      กรมทางหลวงโดยแขวงทางหลวงศรีสะเกษที่ 2 จะทำการปรับปรุง โดยก่อสร้างเกาะกลางเป็นเกาะยก ขยายช่องจราจร ทำจุดกลับรถในจุดที่เหมาะสมและปลอดภัย พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยต่างๆที่จำเป็น เพื่อให้ผู้ใช้เส้นทางมีความสะดวกปลอดภัยยิ่งขึ้น  
title
เก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางเริ่มต้น10 บาทสูงสุด105 บาท สำหรับสี่ล้อ แนะติดบัตร M-PASS

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมในการเก็บค่าธรรมเนียมบนทางหลวงพิเศษหมายเลข7 ช่วงชลบุรี – พัทยา ที่จะเริ่มในวันที่ 19 เมษายน 2561 ว่า หลังจากที่กรมทางหลวงได้ทดลองการใช้ระบบปิด (Ciosed System) เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการให้ประชาชนคุ้นเคยกับระบบดังกล่าว ดังนั้นกรมทางหลวงมั่นใจว่าในวันที่ 19 เมษายน 2561 นี้ซึ่งเป็นวันแรกที่จะมีการเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางจะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจากทั้งระบบ และบุคลากร ต่างมีความพร้อมในการดำเนินการดังกล่าว  อธิบดีกรมทางหลวงยังกล่าวต่อไปอีกว่าสิ่งที่เป็นห่วงคือคือการจ่ายเงินในขาออกตามด่านต่างๆเนื่องจากการทดลองที่ผ่านมายังไม่การคิดค่าธรรมเนียมดังนั้นเพื่อความสะดวกและเป็นการลดปัญหารถชะลอตัวขอหน้าด่าน ขอให้ผู้ใช้ทางตรวจสอบเงินค่าธรรมเนียมให้พร้อมโดยมีอัตราค่าธรรมเนียมคิดตามระยะทางที่ใช้ นอกจากนี้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงชลบุรี-พัทยา สามารถใช้บัตร เอ็มพาส และอีซี่พาส ได้ทันทีในวันที่19 เมษายน 2561 นี้ หากผู้เดินทางต้องการความรวดเร็วสะดวกสบายในการชำระค่าผ่านทาง โดยลดระยะเวลาในการเดินทาง หลีกเลี่ยงการจราจรหน้าด่าน โดยสามารถสมัครรับบริการได้ที่ ธนาคารกรุงไทย  เคทีบีเน็ตแบงก์ ศูนย์บริการทางหลวงขาออกบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และบริเวณด่านทับช้าง 2 บนทางหลวงหมายเลข 9 (ช่วงบางปะอิน-บางนา) สอบถามเพิ่มเติมที่ M-Pass Call Center โทร.1586 กด 9 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง  ทั้งนี้เงินค่าธรรมเนียมผ่านทางที่จัดเก็บได้ทั้งหมด กรมทางหลวงจะนำฝากกระทรวงการคลังเพื่อนำมาใช้บำรุงรักษาทาง สะพาน และระบบอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ไฟส่องสว่าง กล้อง CCTV รถกู้ภัย โทรศัพท์ฉุกเฉิน เป็นต้น รวมถึงนำไปใช้ก่อสร้างขยายโครงข่ายมอเตอร์เวย์ในสายอื่นๆ เช่น สายพัทยา – มาบตาพุด ซึ่งจะช่วยลดภาระงบประมาณแผ่นดินและรักษาวินัยทางการเงินของภาครัฐ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมระบบโลจิสติกส์และสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศด้วย  โดยผู้ใช้ทางสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่สายด่วนกรมทางหลวง1586 โทรฟรีตลอด24 ชม.